หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือที่นิยมเรียกกันว่า หม่อมน้อย (16 มีนาคม พ.ศ. 2496 – 15 กันยายน พ.ศ. 2565) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวทีที่มีผลงานโดดเด่นแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนหนึ่งของประเทศไทย ทั้งยังเป็นผู้เขียนบทและอาจารย์สอนวิชากำกับการแสดงและการแสดงในระดับสากล
สุดอาลัยกับการจากไปของ “หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” หรือหม่อมน้อย ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวทีของเมืองไทย ท่ามกลางวงการบันเทิงโศกเศร้าและแสดงความอาลัย โพสต์ถึงหม่อมน้อย เผยถึงคำสอนต่างๆจากหม่อมน้อย
อย่างล่าสุด “มาริโอ้ เมาเร่อ” ได้เปิดใจถึงหม่อมน้อยว่า “หม่อมทำให้ผมรู้ว่าการแสดงมีค่าขนาดไหน ผมเคยประสบปัญหาร้องไห้ไม่ได้ กล้องรอผม 3 ชม. ผมบอกหม่อมว่าผมร้องไห้ไม่ได้ครับ
หม่อมบอกว่าไม่เป็นไรโอ้การแสดงที่ดีมันไม่ได้วัดที่น้ำตา มันวัดที่ความรู้สึกข้างใน คำสอนของหม่อมอยู่ในใจโอ้ตลอดเลยครับ ที่มีมาริโอ้ เมาเร่อวันนี้เพราะมีอาจารย์หม่อมน้อยครับ ผมจะไม่มีวันลืมสิ่งที่หม่อมสอนผม”
นอกจากนี้ มาริโอ้ ได้โพสต์อินสตราแกรมกราบลาหม่อมน้อย พร้อมข้อความระบุว่า
“If next life really exist may god let me be one of your student again my master i love you And i will miss you so bad thank you so much for every thing”
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล (โอรสในหม่อมเจ้าสุทธาสิโนทัย เทวกุล) กับนางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สมรรคะบุตร) โดยหม่อมน้อยเป็นพระปนัดดา (เหลน) ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ทางหม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล (พระอนุชาในหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระอัยกีใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ผู้เป็นท่านปู่
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นเข้าศึกษาที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาทำงานทางด้านภาพยนตร์ในเวลาต่อมา
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพมีผลงานเรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ของ สหมงคลฟิล์ม ที่ได้สร้างชื่อให้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย
ผลงานกำกับภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้รับรางวัลหลายเรื่อง เช่น เพลิงพิศวาส (2527), ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529), ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530), เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532), ความรักไม่มีชื่อ (2533), มหัศจรรย์แห่งรัก (2538) และ อันดากับฟ้าใส (2540)
ชีวิตส่วนตัว ยังเป็นโสด หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ด้วยโรคมะเร็งปอด ณ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ในวันเดียวกับ Six characters มายาพิศวง
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพกำกับ เข้าฉายเป็นวันแรก โดยกำหนดสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 17–23 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร จากนั้นจะบรรจุศพเพื่อรอการพระราชทานเพลิงต่อไป
ที่มีทุกวันนี้ได้
ที่มีทุกวันนี้ได้
ที่มีทุกวันนี้ได้
ที่มีทุกวันนี้ได้
ที่มีทุกวันนี้ได้
ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
https://bit.ly/3DvReEy