เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชธิดาองค์ใหญ่ใน “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ” กับ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ”

ทรงสนพระทัยที่จะศึกษาในสาขารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มาตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ในระดับมัธยมแล้ว ดังนั้นเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) จากโรงเรียนจิตรลดา ได้สอบคัดเลือกตามกระบวนการของมหาวิทยาลัย เลือกคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอันดับ 1 และทรงสามารถสอบคัดเลือกได้เมื่อปีการศึกษา 2540

ด้วยทรงมีวิริยะอุสาหะในการศึกษาจึงทรงใช้เวลาศึกษาเพียง 3 ปี ครึ่งสำเร็จการศึกษาในภาคที่ 1 ปีการศึกษา 2543 เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 77.64 นับเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์ในประเทศไทยจากการสอบคัดเลือกตามระบบอุดมศึกษา

ไม่เพียงแต่ศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเปิดของประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชอีกด้วย โดยสนพระทัยการเมืองการปกครอง ทรงสมัครศึกษาในสาขาวิชารัฐศาสตร์ แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

และการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ เมื่อปีการศึกษา 2540 (ควบคู่กับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ทรงสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลา 3 ปีครึ่ง รวมคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร 3.92 สูงสุดของสาขารัฐศาสตร์ โดยทรงได้รับเหรียญทองเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และทรงได้รับพระราชทานเข็มทองคำตรีศรด้วย

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยภายในประเทศแล้วสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาวิชากฏหมาย ณ มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2544 ด้วยทรงทุ่มแทและทรงค้นคว้าทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องใช้เวลาเพียง 1 ปี ก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชากฏหมาย (Master of Law (LL.M.)) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2545

ภายหลังที่ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วพระองค์ทรงศึกษาต่อในระดับ ปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยเดียวกัน สำหรับการศึกษาต่อในระดับนี้ ต้องใช้ความสามารถและความพยายามอย่างมาก โดยทรงค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวม ข้อมูลต่างๆ ด้านกฏหมาย

ทั้งในระบบจารีตประเพณี (Common Law) และระบบประมวลกฏหมาย (Civil Law) เพื่อนำมาประกอบเป็นวิทยานิพนธ์ เสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการตามขั้นตอน

การสอบและพิจารณาของมหาวิทยาลัย ในที่สุดได้สำเร็จการศึกษาสภามหาวิทยาลัยคอร์แนลถวายการอนุมัติปริญญาเอก หรือปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฏหมาย (J.S.D = Doctor of Juridical Science) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548

ทั้งนี้ในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๕๘ น. ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย ๑ ชั่วโมง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

เสด็จไปยังวิทยาลัยธุรกิจไท่คัง ทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขากฎหมาย จากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ด้วยประจักษ์ถึงพระปรีชาสามารถด้านกฎหมาย และพระกรณียกิจด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงผลักดันให้เกิดมาตรฐานระหว่างประเทศฉบับใหม่ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดหญิง หรือข้อกำหนดกรุงเทพ จนนำไปสู่การจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อสานต่อพระกรณียกิจในด้านนี้

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

 

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

 

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
https://bit.ly/3QDjCba