จากซ้ายไปขวา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ระหว่างเสด็จเปิดการประชุมรัฐสภา ที่กรุงลอนดอน เมื่อเดือนเมษายน ปี 2509 และ เสด็จเปิดการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ปี 2549 (เอพี)
70 ปีบนบัลลังก์พิสูจน์ “ควีนเอลิซาเบธที่ 2” คือ ราชินีผู้เด็ดเดี่ยวเอลิซาเบธ อเล็กแซนดรา แมรี วินด์เซอร์ ไม่ได้หวังจะเป็น ราชินีแห่งอังกฤษ แต่เป็นเพราะชะตาชีวิตได้ลิขิตไว้แล้ว
ราชนิกูล ผู้กลายมาเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
จะฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 การครองราชย์อันไม่นึกฝัน ที่ทำให้พระองค์กลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งความมั่นคง ” ไม่ว่าสหราชอาณาจักร จะเผชิญเหตุการณ์ หรือ ความไม่แน่นอนใดๆก็ตาม
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (เอพี) จากราชวงศ์สาวผู้งดงาม สู่บทบาทมากมาย รวมทั้งสมเด็จย่าแห่งชาติ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงประจักษ์แก่สายพระเนตรถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้ง การล่มสลายของจักรวรรดิ์อังกฤษ ได้เห็นการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมที่หลากหลาย การก่อการร้ายที่เพิ่มขึ้น แล้วยังความท้าทายจากเบร็กซิท (Brexit ) ที่อังกฤษ ถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป วิกฤติการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระธิดาองค์โตใน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ขณะมีพระชนม์ 13 พรรษา (เอพี) แต่ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พระองค์ยังทรง “มั่นคง”ไม่เปลี่ยนแปลง ทรงรักษาผลประโยชน์ในต่างแดนของอังกฤษ ทรงชื่นชมความสำเร็จต่างๆของประเทศชาติ และทรงแสดงความเห็นพระทัยเมื่อเกิดความล้มเหลว และทรงอยู่เหนือการต่อสู้ทางการเมืองตลอดมา
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 (กลาง) กับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระมเหสี( ตรงกลางด้านขวา) เจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระธิดา (กลางเบื้องหน้า) พร้อมด้วย เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต และสมาชิกราชวงศ์ หลังพิธีราชาภิเษกในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2480 (เอพี)
ฮิวโก วิคเกอร์ นักประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชาวอังกฤษวัย 70 ปี ให้สัมภาษณ์เอพีว่า “ผมคิดมาตลอดว่า พระองค์เหมาะที่จะได้รับการเรียกขานว่า เอลิซาเบธ เดอะ สเตดฟาสต์ (Elizabeth the Steadfast -เอลิซาเบธผู้เด็ดเดี่ยว) ผมคิดว่านี่เป็นคำอธิบายถึงพระองค์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด พระองค์ไม่จำเป็นต้องคาดหวังว่าจะได้เป็นราชินี และพระองค์ได้ทรงทำหน้าที่นั้น ”
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อครั้งทรงเป็น เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ประทับอยู่กับ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระบิดา ที่รอยัล ลอดจ์ ในพระราชวังวินด์เซอร์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ปี 2489 (เอพี)
เอลิซาเบธ อเล็กแซนดรา แมรี วินด์เซอร์ เป็นพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ประสูติเมื่อวันที่ 21 เมษายน ปี 2469 หลังจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระปิตุลา (ลุง) สละราชบัลลังก์ หลังขึ้นครองราชย์ได้เพียงปีเดียว เพื่อไปแต่งงานกับ วอลลิส ซิมป์สัน หญิงหม้ายชาวอเมริกัน ทำให้ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ต้องขึ้นครองราชย์ และทำให้ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงเป็นรัชทายาท ผู้จะสืบทอดบัลลังก์ต่อไป
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ประทับหน้าไมโครโฟน เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวโรกาสครบพระชนม์มายุ 21 พรรษา เมื่อวันที่ 21 เมษายน ปี 2490 ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ทรงอุทิศตนเพื่อชาติ และทรงปฎิเสธ ไม่ยอมเสด็จออกจากกรุงลอนดอน ขณะที่มีการทิ้งระเบิดถล่มในช่วงเดือนแรกๆของสงครามโลกครั้งที่ 2
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงเดินตามรอยพระบิดา ด้วยการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยทรงเข้าร่วม Auxiliary Territorial Service ช่วงต้นปี 2488 ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์ที่เป็นสตรีคนแรกที่เข้าร่วมกับกองกำลังทหารนี้แบบเต็มตัว และในวันพระราชสมภพ ครบ 21 พรรษา เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงประกาศผ่านสถานีวิทยุที่ออกอากาศไปทั่วโลก ขออุทิศชีวิตแด่ชาติ และประเทศในเครือจักรภพ
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ในพิธีราชาภิเษก ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ปี 2496 (เอพี) “ข้าพเจ้าขอประกาศต่อหน้าพวกคุณทุกคนว่า ตลอดชีวิตของข้าพเจ้าไม่ว่าจะยาวหรือสั้น ขออุทิศให้แก่ การรับใช้ชาติ และการทำหน้าที่รับใช้ของราชวงศ์อันยิ่งใหญ่ที่พวกเราทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ”
ในปี 2495 ระหว่างเจ้าหญิงเอลิซาเบธ เสด็จเยือนประเทศในเครือจักรภพแทนพระบิดาที่กำลังประชวร ระหว่างทรงอยู่ที่กระท่อมห่างไกลในประเทศเคนยา ขณะกำลังทอดพระเนตรลิงบาบูนจากบนยอดไม้ กับเจ้าชายฟิลิป พระสวามี ก็ทรงได้รับแจ้งข่าวพระบิดา สวรรคตสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ประทับรถยนต์พระที่นั่ง ไปยังสภาขุนนางเพื่อเปิดประชุมรัฐสภาในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2495 (เอพี)
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ เสด็จกลับกรุงลอนดอนทันที และเสด็จลงจากเครื่องบินด้วยชุดฉลองพระองค์สีดำ และทรงใช้ชีวิตในฐานะราชินีแห่งอังกฤษนับจากนั้นเจ้าหญิงเอลิซาเบธ กับ เรือโทฟิลิป เมานต์แบ็ตเทน ที่กรุงลอนดอน เมื่อเดือนกันยายน ปี 2490 (เอพี)
ตลอดช่วงเวลา 70 ปี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงร่วมแบ่งปันความไว้วางใจกับ นายกรัฐมนตรี 14 คน เคยต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 13 คน และทรงเป็น หลักยึดเหนี่ยวแก่ชาวอังกฤษตลอดมา ท่ามกลางเหตุการณ์ท้าทายครั้งแล้ว ครั้งเล่า ตั้งแต่เมื่อคราวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานา เมื่อปี 2540 ที่การนิ่งเงียบของราชวงศ์วินด์เซอร์ สร้างความไม่พอใจแก่ผู้ชื่นชอบเจ้าหญิงไดอานา
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ และเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินบะระ พระสวามี ฉายพระฉายาลักษณ์คู่ที่พระราชวังบักกิงแฮม หลังเข้าพิธีเสกสมรสที่ มหาวิหารเวสต์มินส์เตอร์ ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 2490 (เอพี)
แล้วล่าลุดยังมีกรณีเจ้าชายแอนดรูว์ พระโอรสองค์ที่ 2 ที่กำลังถูกฟ้องในคดีล่วงละเมิดทางเพศ และ การขอลดบทบาทในฐานะสมาชิกราชวงศ์ระดับสูงของเจ้าชายแฮร์รี พระราชนัดดา และ ดัชเชสแห่งซัสเซกซ์ หรือ เมแกน มาร์เคิล พระชายา เสด็จไปใช้ชีวิตที่สหรัฐอเมริกา
เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ประทับข้างเจ้าชายฟิลิป ขณะประทับรถยนต์พระที่นั่งในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ปี 2491 แต่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ทรงรับมือกับปัญหา และหาทางออกได้อย่างดี
และได้รับคะแนนนิยมจากพสกนิกรมาโดยตลอด ซึ่ง เคลลี บีเวอร์ ซีอีโอของบริษัททำโพลชื่อ Ipsos UK ซึ่งติดตามสำรวจความนิยมในตัวควีนเอลิซาเบธที่ 2 มาหลายทศวรรษ บอกว่า ” ส่วนหนึ่งก็เพราะ พระองค์ทรงมีความหมายเหมือนกับ ราชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวอังกฤษภาคภูมิใจ “
ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
https://bit.ly/3xcLQlM