พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ด้วยพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จนสวรรคต เป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ยังเป็นประมุขแห่งรัฐที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในโลก
ตั้งแต่การสวรรคตของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะแห่งญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2532 กระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2559 อีกทั้งเป็นพระมหากษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดตลอดกาลอันดับที่ 3 ด้วยระยะเวลาในราชสมบัติทั้งสิ้น 70 ปี 126 วัน
ใครเล่าเลยจะรู้ว่าในช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพ สิ่งที่ในหลวง ร.9 ทรงอยากทำคืออะไร… เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ในหลวง ร.9 ประทับอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช วันหนึ่งมีรับสั่งให้คณะองคมนตรีเข้าเฝ้า
และตรัสว่า “ฉันจะตั้งกองทุนการศึกษา ให้เอาเงินฉันไปใช้ ไปทำอย่างไรก็ได้ เป้าหมายคือ ให้ ..โรงเรียน..สร้างคนดี..ให้แก่บ้านเมือง” แล้วมอบหมายให้องคมนตรีที่ยังแข็งแรงอยู่ช่วยออกไปรีเสิร์ชหาโรงเรียนตัวอย่างเพื่อให้รู้ถึงปัญหา
ที่สำคัญคือให้ทำเรื่องนี้อย่างเงียบ ๆ ไม่ต้องแจ้งผ่านทางหน่วยงานใด ๆ ให้ไปอย่างผู้ใหญ่ใจดี ไปรถคันเดียว เพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาและได้ข้อมูลที่แท้จริง หลังจากนั้นคณะองคมนตรีจึงสรรหาโรงเรียนเข้าโครงการ ‘โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม’ ได้ประมาณ 155 โรงเรียนทั่วประเทศ
จึงมีรับสั่งว่า ทรงมีเงินที่ประชาชนทูลเกล้า ฯ ถวายมามาก อยากจะนำคืนให้กลับประชาชน แต่ขอให้ทำในสิ่งที่ประหยัด ใช้วัสดุในพื้นที่ แต่ให้คงทนแข็งแรง ประการแรก ที่โปรด ฯ ให้ทำ คื อบ้านพักครู โดยให้เลือกบ้านพักครูที่แย่ที่สุดก่อนแล้วสร้างให้เขาใหม่
ประการที่ 2 คือปรับปรุงห้องน้ำครูและนักเรียน และประการต่อมา คือ ห้องเรียนที่ชำรุด หลังคารั่ว โต๊ะเรียน เก้าอี้ โดยให้มารับเงินที่พระองค์ไปใช้… ท้ายที่สุดในหลวง ร.๙ รับสั่งให้เลือกเด็กโรงเรียนละ 2 คน
ทรงอยากให้ส่งให้เขาเรียนจนจบเท่าที่จะเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นปริญญาตรี-โท-เอก ก็แล้วแต่เขา แต่ขอให้นำความจากพระองค์ท่านไปบอกเด็ก ว่า มีพระราชประสงค์ที่จะเห็น ‘เด็กที่เรียนดีนั้นเป็นคนดีด้วย’
เช่นเดียวกันกับครู ทรงอยากให้ครูอยู่สบาย อยากอยู่ในโรงเรียนห่างไกล เพื่อที่เด็ก ๆ ในชนบทจะได้มีครูดีๆ สอนให้เป็นคนดี จึงมีรับสั่งให้คัดเลือกครูที่เก่ง ขยัน โดยจะพระราชทานเงินพิเศษ
หรือส่งเรียนต่อเพื่อให้มีความรู้เพิ่มเติม เพียงแต่ต้องสัญญาว่า อย่าทิ้งเด็ก อย่าทิ้งโรงเรียนที่ห่างไกลเหล่านั้น… สำหรับกองทุนนี้ ในช่วงแรกในหลวง ร.9 ได้พระราชทานเงินจำนวน 200 ล้านบาท พร้อมกับรับสั่งว่า “หมดเมื่อไรก็บอก”
ช่วงปีหลัง ๆ องคมนตรีก็ไม่กล้าไปกราบทูลว่า เงินหมดแล้ว เมื่อสมเด็จพระเทพรัตน ฯ ทรงทราบ ก็มีรับสั่งภายหลัง ว่า อย่าไปกวนในหลวง (ร.9) เลย ถ้าเงินหมดเมื่อใดให้มากราบทูลพระองค์ (สมเด็จพระเทพรัตน ฯ) ซึ่งก็พระราชทานมาเป็นระยะๆ
นี่คือ สิ่งที่ในหลวงภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงทำเป็นลำดับท้าย ๆ (หมายความว่า ทรงทำมาตลอดพระชนม์ชีพ แต่ขนาดช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน ก็ยังทรงห่วงใย เรื่อง ครู นักเรียน การศึกษา ในถิ่นทุรกันดาร)
อาจเป็นเพราะทรงเล็งเห็นแล้วว่า ประเทศนี้ยังคงต้องการบุคลากรครูที่ดี ที่จะช่วยกันสร้างเมล็ดพันธุ์ที่เก่งและเป็นคนดี เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และจะนำพาให้ความสุขบังเกิดขึ้นแก่ประชาชนคนไทย…ประชาชนของในหลวง ร.9
น้ำพระทัย ร.9
น้ำพระทัย ร.9
น้ำพระทัย ร.9
น้ำพระทัย ร.9
น้ำพระทัย ร.9
ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
https://bit.ly/3Axq4LA