สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ

จากเมื่อเวลา ๒๐.๑๙ น. ของวันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ไปทรงเยี่ยมและทรงติดตามการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร

ในโอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ผ้าฝ้ายย้อมคราม มัดหมี่ลายสะเก็ดธรรม ผ้าประจำจังหวัดสกลนคร รับกับฉลองพระบาทผ้าใบในพระสไตล์เรียบง่าย นับว่าพระองค์ทรงสืบสานรักษาและต่อยอดพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในด้านการส่งเสริมศิลปาชีพ

สำหรับ ผ้าฝ้ายย้อมครามลาย สะเก็ดธรรม เดิมชื่อลาย สะเก็ดแลน (เป็นภาษาอีสาน แปลวา ตะกวด) ช่างทอได้จินตนาการจากธรรมชาติรอบตัว นำมาสร้างสรรค์ลวดลายเป็นผืนผ้า ผ้าลายสะเก็ดธรรมนี้ ได้ผ่านการชนะเลิศการประกวดได้รับการยกย่องให้เป็นผ้าประจำจังหวัดสกลนคร
เนื้อหาที่ได้รับการโปรโมต

ผ้าฝ้ายย้อมครามเป็นการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษจะมีความรู้ความสามารถ ที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาแต่ครั้ง ปู ย่า ตา ยาย โดยการทอผ้าด้วยมือไว้ใช้เองและเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูไท บ้านนายาง ซึ่งเรียกว่าผ้าฝ้ายย้อมครามซึ่งแต่เดิมจะเย็บด้วยมือ

เป็นเสื้อผ้าสวมใส่สำหรับผู้หญิงส่วนผู้ชายจะทอเป็นผ้าขาวม้าใส่นุ่งแบบโจง กะเบน หรือผ้าเตี่ยว การทอผ้าฝ้ายได้จากนวลของดอกฝ้ายที่บานเต็มที่นำมากรอหือเข็นเป็นเส้นฝ้าย และย้อมน้ำคราม และนำมาทอเป็นผ้า

สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันจึงเกิดการรวมกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติขึ้นเพื่อทอผ้า จำหน่ายเป็นรายได้เสริมจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่งได้แก่ ผ้าพื้นเมือง ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าพันคอ ผ้ามัดหมี่ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ

สีครามเป็นสีย้อมธรรมชาติที่เก่าแก่มาก ซึ่งมนุษย์รู้จักกันมามากว่า ๖๐๐๐ ปี ประชากรที่อาศัยในเขตร้อนของโลกล้วนเคยทำสีคราม จากต้นไม้ชนิดต่าง ๆตามภูมิภาคนั้น ๆ แต่สีครามคุณภาพดีผลิตจากเอเชีย ดังเช่น สีครามจากอินเดียเป็นที่นิยมของคนอังกฤษมากกว่าสีครามจากเยอรมันและฝรั่งเศส แต่การใช้สีครามลดลงเหลือเพียง ๔ % ของทั่วโลกในปี ๒๔๕๗

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ประเทศของเราพบกับปัญหา มลพิษจากสิ่งแวดล้อม สาเหตุหนึ่ง เกิดจากสารเคมีสังเคราะห์ซึ่งรวมถึงสีย้อมด้วย สีย้อมผ้าส่วนใหญ่เป็นออกไซด์ของโลหะหนัก

ซึ่งโลหะหนักหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ใส่แล้วรู้สึกร้อน ดังนั้น จึงหันมานิยมสีย้อมธรรมชาติ ซึ่งในขณะ เดียวกันก็ได้นำภูมิปัญญาเก่า ๆ ที่ได้สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณจากเดิมเกือบลือหายไปแล้วนั้น กลับมาพัฒนาเป็นอาชีพหลักของลูกหลานในทุกวันนี้

ถ้าจะกล่าวถึงผ้าย้อมครามในจังหวัดสกลนครนั้น คือ ผ้าย้อมคราม ซึ่งเป็นที่สนใจและต้องการมาก เป็นผ้าย้อมครามหรือสีครามคุณภาพดี สีจะเข้มหรือจาง สีสดใส สะอาด ติดทน สีไม่ตก ซึ่งคุณภาพเหล่านี้เป็นผลมาจาก

คุณภาพของวัตถุดิบและความรู้ความชำนาญ ของผู้ผลิต การเตรียมสีครามและย้อมสีครามมีเทคนิคพิเศษกว่าการย้อมสีธรรมชาติอื่น ๆ เริ่มตั้งแต่การเลือกใบครามอายุพอดีและอยู่ในสภาพใบสด

ดังนั้นจะต้องเก็บใบครามอายุประมาณ ๓ – ๔ เดือน ในตอนเช้ามืดก่อนน้ำค้างแห้ง และแช่น้ำปริมาณท่วมใบครามพอดีทันที และแช่ประมาณ ๑๘ – ๒๔ ชั่วโมง หากใช้เวลาแช่มากหรือน้อยกว่านี้จะได้ปริมาณสีครามน้อยกว่า

การแช่ใบครามสดในน้ำไม่ใช่แช่ให้สีครามละลายน้ำดังเช่นการต้มเปลือกไม้ แต่แช่ให้สารเคมี ๒ ชนิดในใบครามสดทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นสีครามที่ละลายน้ำได้ ถ้าใบครามแห้งสารเคมีชนิดหนึ่งในใบครามเสียสภาพธรรมชาติ ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยากับสารอีกชนิดหนึ่งได้

ดังนั้นถ้าปล่อยให้ใบครามแห้งก่อนแล้วนำมาแช่น้ำจะไม่ได้สีครามในน้ำแช่ เช่นเดียวกันกับการต้มใบครามก็ไม่ได้สีครามเช่นกัน เราสามารถย้อมผ้าในสีครามในน้ำแช่หรือที่เรียกว่าน้ำครามได้ แต่ต้องทำอย่างรวดเร็วแข่งกับอากาศ

เพราะสีครามในน้ำแช่เป็นสารที่ทำปฏิกิริยากับอากาศได้ดีกลายเป็นสีครามสีน้ำเงินซึ่งไม่ละลายน้ำ ไม่สามารถซึมเข้าเกาะจับเนื้อในของใยฝ้ายได้ พูดง่าย ๆก็คือสีครามสีน้ำเงินใช้ย้อมผ้าไม่ได้ แต่ถ้าเอาสีครามสีน้ำเงินไปหมักในน้ำขี้เถ้าในสัดส่วนที่พอเหมาะ และปรับความเป็นกรดเป็นด่าง

ให้พอเหมาะ สีครามสีน้ำเงินจะเปลี่ยนเป็นสีครามสีเหลืองละลายในน้ำขี้เถ้า ซึ่งสีครามสีเหลืองนี้ก็ทำปฏิกิริยาได้ดีกับอากาศกลาย เป็นสีคราม สีน้ำเงินเช่นกันกับสีครามในน้ำแช่ ผิวหน้าของน้ำย้อมจึงเป็นสีน้ำเงินแต่น้ำย้อมข้างล่างเป็นสีเหลือง สีครามที่ใช้ย้อมผ้าได้คือสีครามสีเหลือง ไม่ใช่สีครามสีน้ำเงิน

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก
https://bit.ly/3wQdZ1C